ไมโครโปรเซอร์ในปัจจุบัน
จากการที่ตลาดไมโครโปรเซสเซอร์เป็นตลาดที่ใหญ่มาก ในปี พ.ศ. 2540
นี้คาดกันว่ายอดการขายชิพไมโครโปรเซสเซอร์ ขนาด 4 บิตมีสูงถึง 1,400
ล้านตัว ไมโครโปรเซสเซอร์ชิพแบบ 8 บิตประมาณ 1,300
ล้านตัวไมโครโปรเซสเซอร์แบบ 16บิต ประมาณ 400 ล้านตัว และไมโครโปรเซสเซอร์
32 บิตขึ้นไปประมาณ 150 ล้านตัว การที่ไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 8 บิตและ 4
บิตใช้กันมาก
เพราะได้รับการนำมาใช้เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ในเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ
ซึ่งมีการใช้งานได้มากมาย ตลาดไมโครคอนโทรลเลอร์จึงเป็นตลาดที่ใหญ่มาก
และยังคงเติบโตได้อีกมากหากจะแบ่งไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้ในปัจจุบันจึงแบ่ง
ได้
หลากหลายรูปแบบไมโครโปรเซสเซอร์ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้งานเฉพาะจึงยัง
มีตลาดที่ใหญ่เพราะปัจจุบันมีการนำไมโคร
โปรเซสเซอร์เป็นแกนในการออกแบบชิพให้ร่วมกับวงจรอื่น
เพื่อใช้งานเฉพาะเราเรียกว่า แกนของ ASIC คือบริษัทผู้ผลิตชิพ
สามารถเอาแกนหลักเป็นซีพียูไปไว้ในชิพของตนเองได้เลย
ไมโครโปรเซสเซอร์ระดับสูง
เป็นไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้เป็นซีพียูของเครื่องระดับเวอร์กสเตชันหากจะแยก
ในส่วนของตลาด พีซีออกมาให้เด่นชัดพบว่า
ในตลาดพีซีที่ใช้ไมโครซอฟต์วินโดวส์ หรือแมคอินทอชพบว่า ซีพียูในตระกูล X86
มีส่วนแบ่งในตลาดมี92 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 8
เปอร์เซ็นต์เป็นกลุ่มตลาดของเครื่องแมคอินทอช
สำหรับระดับที่สูงกว่าพีซีคือเครื่องระดับเวอร์กสเตชันที่ใช้ยูนิกซ์
พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในตลาดที่ใช้RISCชิพไมโครโปรเซสเซอร์
ที่อยู่ในตลาดส่วนนี้ ประกอบด้วย
-อัลฟ่า เป็นชิพที่ออกแบบสร้างโดย บริษัทดิจิตอล
เป็นชิพไมโครโปรเซสเซอร์ที่มีขีดความสามารถสูง 64 บิต ทำงานได้เร็วถึง 300
เมกะเฮิรตซ์
ชิพไมโครโปรเซสเซอร์นี้มีการให้ลิขสิทธิ์กับบริษัทอื่นไปผลิตด้วย เช่น
มิตซูบิชิ ซัมซุง ฯลฯ Mips เป็นชิพต้นตำรับของบริษัท Mips Technology
โดยใช้ชื่อเป็น R2000 R4000 ต่อมาได้พัฒนาให้ใช้งานได้กว้างขวาง
ปัจจุบันมีการผลิตโดยหลายบริษัท เช่น บริษัท NEC โตชิบา บริษัท IDT
-ชิพ PA-RISC ผู้พัฒนาคือบริษัทฮิวเลตต์-แพคการ์ด
ได้พัฒนามาใช้กับเครื่องที่ผลิตโดย HP ชิพนี้ยังมีการผลิตโดยบริษัทอื่น
เช่น ฮิตาชิ ซัมซุง
-ชิพเพาเวอร์พีซี เป็นชิพที่ร่วมกันออกแบบโดยกลุ่มบริษัทหลายบริษัทคือ
แอปเปิล ไอบีเอ็ม และโมโตโรล่า
จุดมุ่งหมายต้องการให้เป็นชิพชั้นนำที่ใช้งานได้กว้างขวาง
โดยเฉพาะนำมาใช้ในเครื่องรุ่นต่อมาของแมคอินทอช
-ชิพสปาร์ก เป็นชิพที่ออกแบบและสร้างโดยบริษัทซันไมโครซิสเต็มและยังมอบลิขสิทธิ์ให้กับบริษัทฟูจิตสี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น