ชื่อ : นาย กิตติคุณ พันธุ์ชัย
หมู่เรียน: 56/16 รหัสนักศึกษา: 564145102
โปรแกรมวิชา: คอมพิวเตอร์ (คบ.5 ปี) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์
วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556
วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556
วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556
ชนิดหน่วยความาจำสำรอง แบบต่างๆ
ชนิดหน่วยความาจำสำรอง แบบต่างๆ
1. ฮาร์ดดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) จะเก็บข้อมูลลงในแผ่นโลหะอะลูมิเนียมที่เคลือบด้วยวัสดุเหล็กออกไซด์ ข้อมูลที่เก็บลงบนฮาร์ดดิสก์จะอ่านหรือบันทึกด้วยหัวอ่านบันทึก ซึ่งมีวิธีการแทนข้อมูลเป็นค่าศูนย์หรือหนึ่งด้วยทิศทางของเส้นแรงแม่เหล็ก ฮาร์ดดิสก์ที่มีความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กสูงก็จะมีความจุสูง นอกจากนี้ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ยังขึ้นกับกลไกของหัวอ่านบันทึกของหน่วย ขับฮาร์ดดิสก์ และสารแม่เหล็กของวัสดุที่เคลือบบนแผ่นจานแม่เหล็ก
ฮาร์ดดิสก์
2 .แผ่นบันทึก
แผ่นบันทึกเป็นหน่วยความจำรองที่มีความจุสูง มีลักษณะคล้ายแผ่นเสียง เคลือบด้วยสารเหล็กออกไซด์ เพื่อให้สามารถเก็บบันทึกสนามแม่เหล็กบน สารที่เคลือบนั้น การเก็บบันทึกของแผ่นบันทึกข้อมูลจะมีหลักการคล้ายกับจานเสียงที่จะบันทึก เป็นร่องต่อเนื่องเป็นวงแบบก้นหอยเข้าหาศูนย์กลาง แต่การเก็บบันทึกข้อมูลในแผ่นบันทึกจะวนรอบบรรจบกันเป็นวงกลมหลาย ๆ วง โดยมีหัวสำหรับอ่านและเขียนข้อมูล เลื่อนเข้าออกจากศูนย์กลางของแผ่นตามแนวเส้นตรง ในขณะที่แผ่นบันทึกจะหมุนรอบแกนด้วยความเร็วสูง ทำให้การเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรงรวดเร็วกว่าแถบบันทึกที่เป็นการเข้าถึง ข้อมูลแบบลำดับ
แผ่นบันทึก (Floppy Disk)
3.ซีดีรอม
ซีดีรอม (Compact Disk Read Only Memory :CD-ROM) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้จานแสงกับเครื่องเสียง การใช้ซีดีรอมในระบบคอมพิวเตอร์มีจุดมุ่งหมายเพื่อเก็บข้อมูลจำนวนมาก และสามารถเก็บข้อมูลในรูปข้อความ ข่าวสาร รูปภาพ เสียง รวมทั้งภาพวีดิโอไว้ในแผ่น ซึ่งพร้อมที่จะนำมาใช้ได้ทันที แผ่นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ถึงสามแสนหน้าหรือเทียบได้กับ หนังสือ 150 เล่ม

แผ่นซีดีรอม(CD-ROM)
4 . ดีวีดี
ดีวีดี (Digital Versatile Disk : DVD) พัฒนามาจากเทคโนโลยีจานแสงเช่นเดียวกับซีดีรอม เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากมีการพัฒนาทั้งในด้านความจุข้อมูลและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล โดยแผ่นดีวีดีสามารถเก็บข้อมูลได้ประมาณ 4.7 ถึง 17 จิกะไบต์ และมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลอยู่ในช่วง 600 กิโลไบต์ถึง 1.3 เมกะไบต์ต่อวินาที คุณภาพของข้อมูลที่เก็บสูงกว่าคุณภาพของข้อมูลในซีดีรอมหรือสื่อชนิดอื่นมาก ในท้องตลาดปัจจุบันจึงนิยมผลิตภาพยนตร์ในรูปของดีวีดีจำหน่ายแทนเลเซอร์ ดิสก์ (Laser Disk) และวีดิโอเทป
ดีวีดี (Digital Versatile Disk : DVD)
5. หน่วยความจำแบบแฟลช
หน่วยความจำแบบแฟลช (Flash Memory) เป็นหน่วยความจำประเภทรอมที่เรียกว่า “อีอีพร็อม” (Electrically Erasable Programmable Read Only Memory : EEPROM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่นำข้อดีของรอมและแรมมารวมกัน ทำให้หน่วยความจำชนิดนี้สามารถเก็บข้อมูลได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ คือ สามารถเขียนและลบข้อมูลได้ตามต้องการ และเก็บข้อมูลได้ แม้ไม่ได้ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก มักใช้เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลในอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล เช่น กล้องดิจิทัล กล้องวีดิทัศน์ที่เก็บข้อมูลแบบดิจิทัล
แฟลช (Flash Memory)หรือแฮนดีไดรฟ์ (Handy Drive)
ที่มา : http://www.chakkham.ac.th/krusuriya/index.php?option=com_content&view=article&id=90&Itemid=106
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)