วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ศัพท์และความหมายที่เกี่ยวกับ ระบบ Bus(20 ศัพท์)

1. AGP (Accelerated Graphic Ports)
AGP (Accelerated Graphic Ports) เป็นข้อกำหนดของอินเตอร์เฟซ บนแฟลตฟอร์ม ของบัส ซึ่งมีสมรรถนะทางด้านกราฟฟิกสูง เพื่อทำให้สามารถแสดงภาพกราฟฟิก 3 มิติ ได้รวดเร็วบน เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เช่น ภาพจาก Web Site หรือ
ซีดี-รอม ทำให้ การแสดงภาพบนจอภาพ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เร็วและเรียบกว่า  ตัวอินเตอร์เฟซ จะใช้ RAM เพื่อ Refresh ภาพบนจอและสนับสนุน Texture mapping, Z-buffering และ alpha blending ซึ่งต้องการภาพกราฟฟิก 3 มิติ การใช้หน่วยจำหลัก (VDO AGP) เป็นแบบไดนามิค หมายความว่า เมื่อไม่ได้ใช้ Accelerated Graphic หน่วยความจำหลักจะได้รับการ ใช้โดยระบบปฏิบัติการ หรือการประยุกต์อื่นๆ

2. Chipset
"Chipset" หรือ "ชิพเซ็ต" คือกลุ่มไมโครชิพที่ถูกออกแบบมา เพื่อเชื่อมหรือประสานการทำงานของฟังก์ชั่นต่างๆที่เ กี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน ตัวอย่างเช่น ชิพเซ็ต Intel 430HX สำหรับโปรเซสเซอร์ตระกูลเพนเทียมของอินเทล ซึ่งเป็นชิพเซ็ตที่ใช้ระบบบัส (Bus) แบบพีซีไอ (PCI; Peripheral Component Interconnect) พร้อมหน่วยควบคุม หรือ คอนโทรลเลอร์ (Controller) เชื่อมการทำงานของอุปกรณ์ประกอบต่างๆ (Component) เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นซีพียู, แรม, ฮาร์ดไดร์ฟ, ซาวด์การ์ด, กราฟิกการ์ด, ซีดีรอม ฯลฯ เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานร่วมกันได้อย่างมีประส ิทธิภาพสูงสุด, เร็วที่สุด และมีความเสถียรมากที่สุด 


3. Asychronous Transfer Mode (ATM)
ATM หมายถึง เครื่องอัตโนมัติ (automatic teller machine) ด้วย
Asychronous Transfer Mode (ATM) เป็นเทคโนโลยีแบบ dedicated - connection switching ที่ จัดการข้อมูลดิจิตอล เป็นหน่วยเซลล์ขนาด 53 ไบต์ และส่งผ่านตัวกลางทางกายภาคโดยใช้เทคโนโลยีสัญญาณดิจ ิตอล โดยปกติเซลล์จะประมวลผล asynchronous อย่างสัมพัทธ์กับเซลล์อื่น และจัดแถวคอยก่อนการผสมความถี่ในเส้นทางการส่งผ่าน เนื่องจาก ATM ได้รับการออกแบบให้ทำงานกับฮาร์ดแวร์ได้ง่าย การประมวลเร็วกว่า และความเร็วในการสับเปลี่ยน อัตราข้อมูลเบื้องต้นอยู่ระหว่าง 155.520 ถึง 622.080 Mbps ความเร็วบนเครือข่าย ATM สามารถมีความเร็วถึง 10 Gbps พร้อมด้วย ระบบเครือข่ายแบบ Synchronous Optical และเกิดเทคโนโลยีต่าง ๆ ATM เป็นองค์ประกอบหลักของ broad band ISDN


4. ATX
ATX เป็นข้อกำหนดหรือสเป็ค (Specification) เปิดสำหรับแผ่นเมนบอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้ง โต๊ะ ปัจจุบันใช้เวอร์ชัน 2.0 (ธันวาคม 1996)
ATX ปรับปรุงการออกแบบเมนบอร์ดจากข้อกำหนดแบบ AT โดยเปลี่ยนตำแหน่งไมโครโพรเซสเซอร์ และ expansion slot ไป 90 องศา เพื่อทำให้มีพื้นที่ว่างในการเพิ่มการ์ด เพิ่มความสูงให้สามารถเพิ่มอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น TV input/output, การต่อ LAN เป็นต้น ทำให้การใช้สายต่อลดลง power supply มีพัดลมแบบติดตั้งด้านข้าง เพื่อทำให้สามารถระบายความร้อนของ ไมโคร
โพรเซสเซอร์และการ์ดโดยตรง ซึ่งเวอร์ชัน 2.0 ได้ปรับปรุงส่วนของ chassis และ power supply


5. Audio
audio เป็นเสียงภายในช่วงการได้ยินของคน ความถี่ audio เป็นไฟฟ้ากระแสสลับภายในช่วง 20 ถึง 20,000 hertz (รอบต่อวินาที) ในคอมพิวเตอร์ audio เป็นระบบเสียงที่มากับคอมพิวเตอร์หรือเพิ่มเข้าไป การ์ด audio ประกอบด้วยตัวประมวลผลพิเศษและหน่วยความจำ สำหรับการประมวลผลไฟล์และส่งไปที่ลำโพง เสียงเป็นสัญญาณแบบอะนาล็อก ซึ่งแปลงเป็นดิจิตอล โดยการ์ด audio โดยใช้ตัวประมวลผลแบบ analog-to-digital เมื่อมีการใช้เสียงสัญญาณดิจิตอลจะส่งไปยังลำโพง ซึ่งจะมีการแปลงกลับไปเป็นสัญญาณอะนาล็อกให้เป็นเสีย งอีกครั้งหนึ่ง
ไฟล์ audio มักจะถูกบีบอัด (compression) สำหรับการเก็บหรือการส่งที่เร็วกว่า ไฟล์ audio สามารถส่งเป็นไฟล์เดียว เช่น ไฟล์ wave เพื่อที่จะทำให้ผู้ใช้ได้รับเสียงแบบ real time ในการฟังดนตรี หรือการประชุมแบบ Video conference สำหรับการ์ด audio แบบพิเศษที่สนับสนุน wave table ส่วนรูปแบบ ของไฟล์ audio ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือ MP3 (MPEG-1 Audio Layer - 3)
 

6. CD-RW
CD-RW (ย่อมาจาก compact disc, rewriteable) เป็นประเภทของรูปแบบคอมแพ็คดิสก์ที่ยอมให้บันทึกหลาย ครั้ง (worm) ที่ยอมให้บันทึกบนซีดี 1 ครั้ง รูปแบบ CD-RW ได้รับการแนะนำโดย Hewlett-Packard, Mitsubishi, Philips, Ricoh และ Sony ในเอกสารข้อกำหนดของพวกเขาในปี 1997 หรือ Orange Book ก่อนการออกวาง Orange Book ซีดีเป็นการอ่านเฉพาะ audio (CD-Digital Audio, อธิบายใน Red Book) ที่เล่นได้ในเครื่องเล่นซีดีและมัลติมีเดีย (CD-ROM) หรือเล่นในเครื่องคอมพิวเตอร์ในไดร์ฟ CD-ROM หลังจาก Orange Book ผู้ใช้สามารถสร้างซีดีของตัวเองจากเครื่องคอมพิวเตอร ์ตั้งโต๊ะ ไดร์ฟ CD-RW สามารถเขียนได้ทั้งดิสก์ CD-R และ CD-RW รวมทั้งสามารถอ่านซีดีทุกประเภท


7. Cache Memory
Cache Memory หรือ Cache หรือ หน่วยความจำแคช หรือ แคช คือหน่วยความจำแรม (RAM) ซึ่งไมโครโปรเซสเซอร์หรือโปรเซสเซอร์แกนหลัก (Core Processor) สามารถเข้าถึงได้เร็วกว่าหน่วยความจำหลัก (Main Memory) บนระบบคอมพิวเตอร์

กระบวนการประมวลผลข้อมูลของไมโครโปรเซสเซอร์นั้น ขั้นตอนแรกคือการเข้าไปค้นหาข้อมูลในแคชก่อน ซึ่งถ้าเจอข้อมูลที่ต้องการ ก็ไม่ต้องเสียเวลาไปค้นหาข้อมูลในหน่วยความจำหลักที่ ใหญ่กว่าในระดับถัดออกไป อาทิ Cache L1, Cache L2, (Cache L3), Memory, Harddisk

บ่อยครั้งที่แคชจะถูกกำกับด้วยระดับความใกล้หรือความ ง่ายในการเข้าถึงโดยไมโครโปรเซสเซอร์

แคชระดับ1 (Cache L1) คือแคชที่อยู่เป็นเนื้อเดียวกันบนตัวไมโครโปรเซสเซอร ์ สามารถเข้าถึงได้เร็วและง่ายที่สุด

แคชระดับ2 (Cache L2) คือแคชที่อยู่ห่างออกมาอีกระดับหนึ่ง ก่อนนี้มักนิยมแยกมาไว้บนสแตติกแรม (SRAM) แต่ปัจจุบัน โปรเซสเซอร์เกือบทุกรุ่นจะมีแคช L2 อยู่บนตัวชิป ซึ่งทำให้แคชที่อยู่บนตัวสแตติกแรมกลายเป็นแคชระดับ 3 (Cache L3) ไปโดยปริยาย

ขณะที่หน่วยความจำหลัก (Memory) จะเป็นไดนามิกแรมหรือดีแรม (DRAM) ที่ปัจจุบันดีดีอาร์-ดีแรม (DDR-DRAM) จะเป็นแบบที่นิยมมากที่สุดและกำลังกลายเป็นมาตรฐานสำ หรับระบบคอมพิวเตอร์

สรุปว่า แคช (Cache) คือหน่วยความจำขนาดเล็กที่อยู่ใกล้กับไมโครโปรเซสเซอ ร์ (Core Processor) มากที่สุด เป็นหน่วยความจำที่ไมโครโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงได้ เร็วกว่าหน่วยความจำหลัก (RAM) บนระบบคอมพิวเตอร์ การเพิ่มขนาดแคชทำให้ระบบสามารถเก็บข้อมูลที่โปรเซสเ ซอร์ต้องใช้ในการประมวลผลได้มากขึ้น ทำให้ใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลน้อยลง ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบดีขึ้นด้วย
 

8. CPU
CPU (Central Processing Unit) หรือ โปรเซสเซอร์ (Processor) คือ ส่วนหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่ควบคุมกา รทำงานของส่วนอื่นๆ โดยทั่วไปแล้ว ซีพียูจะประกอบไปด้วย หน่วยควบคุม (Control Unit), หน่วยประมวลผลคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ (Arithmetic and Logic Unit; ALU) และหน่วยความจำ ได้แก่ รีจีสเตอร์ (Register), แคช (Cache), แรม (RAM) และรอม (ROM)


9. Data
   1. ในการคำนวณ ข้อมูล (data) เป็นสารสนเทศ (information) ที่สามารถแปลเป็นรูปแบบที่สะดวกในการเคลื่อนย้าย หรือประมวลผล สัมพัทธ์กับคอมพิวเตอร์ และตัวกลางในการส่งผ่านข้อมูล เป็นสารสนเทศที่แปลงเป็นรูปแบบ binary หรือ ดิจิตอล

   2. ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ติดต่อภายในหรือ การสื่อสารผ่านเครือข่าย ข้อมูลมักจะแยกจาก "control information", "control bits" และคำที่คล้ายกันในการชี้หน่วยการส่งเนื้อหาหลัก

   3. ในด้านโทรคมนาคม ข้อมูลบางครั้งหมายถึง สารสนเทศ ของรหัสแบบดิจิตอล ที่แยกจากสารสนเทศของรหัสแบบอะนาล็อก เช่น โทรศัพท์แบบดั้งเดิม โดยทั่วไป อะนาล๊อก หรือเสียง ( voice) มีการส่งผ่านที่ต้องการ การติดต่อที่ต่อเนื่อง สำหรับการกำหนดเวลาของชุดการส่งที่สัมพันธ์กัน การส่งผ่านข้อมูล สามารถส่งด้วยการติดต่อแบบเป็นช่วงในรูปของแพ็คเกต

   4. โดยทั่วไป และในวิทยาศาสตร์ ข้อมูลหมายถึง ตัวของข้อเท็จจริง
data ที่มีจากภาษา ลาติน ซึ่ง data เป็นรูปพหูพจน์ของ "datum" โดยการใช้รูปพหูพจน์ "data" แต่การใช้ "datum" พบน้อยมาก และมีการใช้ "data" ในความหมายเอกพจน์


10. DDR SDRAM
DDR SDRAM หรือ Double Data Rate SDRAM หรือ ดีดีอาร์เอสดีแรม หรือ ดีดีอาร์ คือ เอสดีแรม (SDRAM) ที่ตามทฤษฎีแล้ว สามารถพัฒนาให้สามารถทำงานที่ความเร็วสูงขึ้นถึง 200MHz (เมกะเฮิร์ตซ) และมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คือ รับส่งข้อมูลได้ทั้งทั้งขาขึ้นและขาลงของสัญญาณคล็อก เทียบกับเอสดีแรมปกติที่จะรับส่งข้อมูลเฉพาะขาขึ้นขอ งสัญญาณคล็อกเพียงด้านเดียว


11. DRAM
Dynamic Random Access Memory หรือ DRAM หรือ ดีแรม คือ แรม (Random Access Memory; RAM) หรือ หน่วยความจำชนิดปกติสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและ เครื่องเวิร์คสเตชั่น (Workstation) หน่วยความจำคือเครือข่ายของประจุไฟฟ้าที่เครื่องคอมพ ิวเตอร์ใช้เก็บข้อมูลในรูปของ "0" และ "1" ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ

Random Access หรือ การเข้าถึงแบบสุ่ม หมายถึง โปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงทุกๆส่วนของหน่วยความจำหรือ พื้นที่เก็บข้อมูลได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องค้นหาข้อมูลที่ต้องการเรียงตามลำดับจาก จุดเริ่มต้น

DRAM คือไดนามิก ซึ่งตรงกันข้ามกับ SRAM หรือ สแตติกแรม (Static RAM); DRAM ต้องการการรีเฟรช (Refresh) เซลเก็บข้อมูล หรือการประจุไฟ (Charge) ในทุกๆช่วงมิลลิวินาที ในขณะที่ SRAM ไม่ต้องการการรีเฟรชเซลเก็บข้อมูล เนื่องจากมันทำงานบนทฤษฎีของการเคลื่อนที่ของกระแสไฟ ฟ้าซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงใน 2 ทิศทาง ไม่เหมือนกับเซลเก็บข้อมูลซึ่งเป็นเพียงตัวเก็บประจุ ไฟฟ้าเท่านั้น โดยทั่วไป SRAM มักจะถูกใช้เป็นหน่วยความจำแคช (Cache Memory) ซึ่งโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงได้เร็วกว่า

DRAM จะเก็บทุกๆบิตในเซลเก็บข้อมูล ซึ่งประกอบขึ้นด้วยกลุ่มตัวเก็บประจุ (คาปาซิเตอร์; Capacitor) และทรานซิสเตอร์ (Transistor) คาปาซิเตอร์จะสูญเสียประจุไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว และนั่นเป็นเห็นเหตุผลว่า ทำไม DRAM จึงต้องการการรีชาร์ต

ปัจจุบัน มีแรมมากมายหลากหลายชนิดในท้องตลาด เช่น EDO RAM, SDRAM และ DDR SDRAM เป็นต้น
 


12. DVD+RW
DVD+RW เป็นเทคโนโลยีที่ร่วมกันพัฒนาขึ้นโดยบริษัทฮิวเลตต์แ พคการ์ด, มิตซูบิชิ, ฟิลิปส์, ริโค, โซนี่, เดลล์, คอมแพค และยามาฮา ซัพพอร์ตการ Re-Writable และสามารถใช้ได้กับทั้งเครื่องเล่น DVD และไดร์ฟ DVD-ROM ของเครื่องคอมพิวเตอร์
ไม่สามารถใช้เขียนหรืออ่านแผ่น DVD-RAM ได้ แต่กับแผ่น CD-R และ CD-RW ไม่มีปัญหา เพราะเทคโนโลยีนี้มีพื้นฐานเดียวกับ CD-R และ CD-RW มีความจุ 4.7GB ต่อหน้า สามารถเขียนทับได้กว่า 1,000 ครั้ง ส่วนเวอร์ชั่นที่สามารถ Re-Writable ได้ครั้งเดียวนั้น จะเรียกว่า DVD+R 


13. DVD-R
DVD-R หรือ ดีวีดี-อาร์ เป็นมาตรฐานดีวีดีซึ่งคิดค้นและพัฒนาขึ้นโดยบริษัทไพ โอเนียร์ (Pioneer) มีความจุ 4.7GB (กิกะไบต์) ต่อหน้า คุณสมบัติจะคล้ายกับ DVD-ROM คือใช้เขียนได้ครั้งเดียว แรกเริ่มเดิมทีตั้งใจจะพัฒนาขึ้นมาสำหรับผู้ใช้ระดับ โปรเฟสชั่นแนลเท่านั้นภายใต้มาตรฐาน DVD-R (A) แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเวอร์ชั่นสำหรับผู้ใช้ทั่วไ ปออกมาร่วมทำตลาดด้วยภายใต้มาตรฐาน DVD-R (G) ข้อแตกต่างระหว่าง 2 เวอร์ชั่นก็คือ เวอร์ชั่น A จะซัพพอร์ตการทำมาสเตอริ่งและมีเทคโนโลยีป้องการก็อป ปี้ข้อมูล ขณะที่เวอร์ชั่น G ไม่มี คุณสมบัติเด่นอีกประการหนึ่งของ DVD-R ก็คือ สามารถเล่นได้กับทั้งเครื่องเล่น DVD ทั่วไปและไดร์ฟ DVD-ROM ของเครื่องคอมพิวเตอร์ 


14. DVD-RAM
DVD-RAM หรือ ดีวีดีแรม เป็นเสมือนหนึ่งฮาร์ดดิสก์ มีการอ่านเขียนข้อมูลแบบสุ่มหรือแรนดอม (Random) เดิมมีความจุเพียง 2.6GB ต่อหน้า แต่ถูกปรับปุรงให้เป็น 4.7GB ต่อหน้าในภายหลัง และในปัจจุบันแผ่น DVD-RAM แบบดับเบิลไซด์จะมีความจุสูงสุดถึง 9.4GB สามารถเขียนทับได้มากกว่า 100,000 ครั้งโดยไม่ต้องรีฟอร์แมตก่อน อย่างไรก็ตาม DVD-RAM มีข้อจำกัดคือ
ไม่สามารถเล่นกับเครื่องเล่น DVD หรือไดร์ฟ DVD-ROM ได้ จำเป็นต้องเล่นกับไดร์ฟ DVD-RAM โดยเฉพาะเท่านั้น 


15. DVD-ROM
DVD-ROM หรือ ดีวีดีรอม รายละเอียดเชิงเทคนิคโดยทั่วไปจะเหมือนกันกับ DVD Video คือฟอร์แมตมาตรฐานที่ใช้กันใน “ฮอลลีวูด” (Hollywood) หรือในวงการภาพยนตร์ เพื่อการบันทึกข้อมูลภาพ ทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง รวมถึงข้อมูลเสียง
มีคุณภาพสูงกว่าฟอร์แมต CD และมีความจุสูงสุดประมาณ 17 กิกะไบต์ แต่ที่พิเศษกว่าคือ สามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ด้วย เพื่อการบันทึกข้อมูลประเภทดาต้าอื่นๆ 


16. DVD-RW
DVD-RW หรือ ดีวีดี-อาร์ดับเบิลยู เป็นมาตรฐานที่พัฒนาต่อยอดจาก DVD-R ให้มีความสามารถทั้งอ่านและเขียน มีความจุ 4.7GB (กิกะไบต์) ต่อหน้า สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำ (Re-Written) ได้ประมาณ 1,000 ครั้ง และสามารถเล่นได้กับทั้งเครื่องเล่น DVD ทั่วไปและไดร์ฟ DVD-ROM ของเครื่องคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับ DVD-R
 


17. EEPROM
EEPROM หรือ Ectrically Erasable Programmable Read-Only Memory หรือ อีเอ็ปรอม คือหน่วยความจำรอม (ROM) ที่ผู้ใช้สามารถลบหรือแก้ไขหรือเขียนซ้ำข้อมูลที่บรร จุอยู่ภายในได้ และสามารถกระทำซ้ำได้หลายครั้ง โดยอาศัยแอพพลิเคชั่นที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูงกว่าปกติ EEPROM จะต่างจาก EPROM ตรงที่ไม่จำเป็นต้องถอดออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่ อทำการแก้ไขข้อมูล การลบข้อมูลใน EEPROM จะเป็นการลบข้อมูลทั้งหมด ไม่สามารถเลือกลบเฉพาะบางส่วนได้ อย่างไรก็ตามมันมีอายุการใช้งานจำกัดขึ้นอยู่กับจำนว นครั้งในการลบหรือแก้ไขข้อมูล เช่น 10 ครั้งหรือ 100 ครั้ง รูปแบบพิเศษของ EEPROM คือหน่วยความจำแฟลช (Flash Memory) ซึ่งใช้ระดับไฟปกติในเครื่องพีซีสำหรับการลบหรือเขีย นหรือแก้ไขข้อมูล 


18. FAT & FAT32
FAT (File Allocation Table) เป็นตารางแผนที่ของ คลัสเตอร์ (คลัสเตอร์ เป็นหน่วยพื้นฐานด้านการเก็บแบบ logical บนฮาร์ดดิสก์) ที่ระบบปฏิบัติการใช้ในการควบคุมฮาร์ดดิสก์ เพื่อทำให้ทราบถึงตำแหน่งไฟล์ที่เก็บอยู่ เมื่อมีการเขียนไฟล์ใหม่ลงบนฮาร์ดดิสก์ ถ้าไฟล์มีขนาดใหญ่ 1 คลัสเตอร์ การเก็บอาจจะไม่เก็บในคลัสเตอร์ที่ต่อกัน แต่อาจจะกระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของฮาร์ดดิสก์ ขนาดคลัสเตอร์ (มาตรฐาน) ปกติ มีขนาด 2,048 ไบต์ 4,096 ไบต์ 8,192 ไบต์ ระบบปฏิบัติการจะสร้าง FAT entry สำหรับไฟล์ใหม่ เพื่อบันทึกคลัสเตอร์แต่ละคลัสเตอร์ที่เก็บและลำดับค วามต่อเนื่อง เมื่อมีการอ่านไฟล์ระบบปฏิบัติการ
จะทำการประกอบไฟล์จ ากคลัสเตอร์ต่าง ๆ เพื่อเรียกไฟล์มาใช้งาน

DOS และ Windows ใช้ FAT ขนาดความยาว 16 บิต ทำให้จำกัดขนาดฮาร์ดดิสก์ที่ขนาด 128 เมกกะไบต์ โดยมีคลัสเตอร์ 2,048 ไบต์ Windows 95 OSR2 สามารถสนับสนุนได้ถึง 512 เมกกะไบต์

โดยใช้ขนาดคลัสเตอร์ 8,192 แต่ต้นทุนการใช้คลัสเตอร์ขาดประสิทธิภาพ DOS 5.O และเวอร์ชันต่อมาสามารถสนับสนุนฮาร์ดดิสก์ได้ถึง 2 กิกะไบท์ FAT ขนาด 16 บิต โดยการแบ่งออกเป็น 4 พาร์ติชัน

เมื่อมีการใช้ FAT32 ทำให้ Windows 95 OSR2 สามารถสนับสนุนฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่ ได้ถึง 2 เทอร์ร่าไบต์ อย่างไรก็ตามผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล สามารถได้ประโยชน์จาก FAT32 ด้วยการใช้ไดรพ์ขนาด 5 หรือ 10 กิกะไบต์
 


19. Gigahertz
gigahertz (กิกะเฮิร์ตซ์) ตัวย่อ GHz เป็นหน่วยของความถี่ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EM) เท่ากับหนึ่งพันล้านเฮิร์ตซ์ (1,000,000,000 Hz) gigahertz ได้รับการใช้เป็นตัวชี้ความถี่ของ ultra-high-frequency (UHF) และสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไมโครเวฟ (microwave) และรวมถึงในบางคอมพิวเตอร์ ใช้แสดงความเร็วนาฬิกาของไมโครโพรเซสเซอร์

ความถี่ 1 GHz ของสัญญาณ EM มีความยาวคลื่น 300 มิลลิเมตร หรือสั้นกว่าเท้าเล็กน้อย ความถี่ 100 GHz ของสัญญาณ EM
มีความยาวคลื่น 3 มิลลิเมตร ซึ่งเกือบเท่ากับ 1/8 นิ้ว การส่งผ่านคลื่นวิทยุได้การทำความถี่ได้ถึงหลายร้อย gigahertz ความเร็วนาฬิกาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกำลังเพิ่มขึ้นเด ือนต่อเดือนในฐานะความล้ำหน้าของเทคโนโลยี และถึงจุด 1 GHz ในเดือนมีนาคม 2543 ด้วยโพรเซสเซอร์ของ AMD ตามด้วย 1 GHz Pentium 3 จาก Intel

หน่วยความถี่อื่นที่ใช้ทั่วไป คือ kHz เท่ากับ 1,000 Hz หรือ 0.000001 GHz และ MHz เท่ากับ 1,000,000 Hz หรือ 0.001 GHz
 


20. Home page
home page
1. สำหรับผู้ใช้เว็บ home page คือ เว็บเพจแรกที่ปรากฏหลังจากเริ่มใช้ web browser เช่น Netscape Navigator หรือ Microsoft Internet Explorer ซึ่ง browser มักจะได้รับการตั้งค่าก่อน ดังนั้น home page คือ เพจแรกของผู้ผลิต browser อย่างไรก็ตามผู้ใช้สามรถตั้งค่าการเปิด web site อื่น ๆ ได้ เช่น การระบุเป็น "http://yahoo.com" หรือ "http://www.widebase.net" เป็น home page ของผู้ใช้ และสามารถระบุเป็นหน้าว่างได้ สำหรับกรณีที่เลือกเพจแรกจาก รายการ book mark หรือ ป้อน address ของเว็บ

2. สำหรับผู้พัฒนา web site, home page ซึ่งเป็นเพจแรกที่ปรากฏเมื่อผู้ใช้เลือก site หรือ presence บน world wide web
ซึ่ง address ของ web site คือ address ของ home page ถึงแม้ว่าผู้ใช้สามรถป้อน address (URL) ของทุกเพจ และมีการส่ง
เพจมาให้





 

ที่มา  http://www.osteokku.com/th/%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%89/e-variety-it-menu/63-it-technology-001.html



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น