วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ศัพท์และความหมายที่เกี่ยวกับ ระบบ Bus(20 ศัพท์)

1. AGP (Accelerated Graphic Ports)
AGP (Accelerated Graphic Ports) เป็นข้อกำหนดของอินเตอร์เฟซ บนแฟลตฟอร์ม ของบัส ซึ่งมีสมรรถนะทางด้านกราฟฟิกสูง เพื่อทำให้สามารถแสดงภาพกราฟฟิก 3 มิติ ได้รวดเร็วบน เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เช่น ภาพจาก Web Site หรือ
ซีดี-รอม ทำให้ การแสดงภาพบนจอภาพ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เร็วและเรียบกว่า  ตัวอินเตอร์เฟซ จะใช้ RAM เพื่อ Refresh ภาพบนจอและสนับสนุน Texture mapping, Z-buffering และ alpha blending ซึ่งต้องการภาพกราฟฟิก 3 มิติ การใช้หน่วยจำหลัก (VDO AGP) เป็นแบบไดนามิค หมายความว่า เมื่อไม่ได้ใช้ Accelerated Graphic หน่วยความจำหลักจะได้รับการ ใช้โดยระบบปฏิบัติการ หรือการประยุกต์อื่นๆ

2. Chipset
"Chipset" หรือ "ชิพเซ็ต" คือกลุ่มไมโครชิพที่ถูกออกแบบมา เพื่อเชื่อมหรือประสานการทำงานของฟังก์ชั่นต่างๆที่เ กี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน ตัวอย่างเช่น ชิพเซ็ต Intel 430HX สำหรับโปรเซสเซอร์ตระกูลเพนเทียมของอินเทล ซึ่งเป็นชิพเซ็ตที่ใช้ระบบบัส (Bus) แบบพีซีไอ (PCI; Peripheral Component Interconnect) พร้อมหน่วยควบคุม หรือ คอนโทรลเลอร์ (Controller) เชื่อมการทำงานของอุปกรณ์ประกอบต่างๆ (Component) เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นซีพียู, แรม, ฮาร์ดไดร์ฟ, ซาวด์การ์ด, กราฟิกการ์ด, ซีดีรอม ฯลฯ เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานร่วมกันได้อย่างมีประส ิทธิภาพสูงสุด, เร็วที่สุด และมีความเสถียรมากที่สุด 


3. Asychronous Transfer Mode (ATM)
ATM หมายถึง เครื่องอัตโนมัติ (automatic teller machine) ด้วย
Asychronous Transfer Mode (ATM) เป็นเทคโนโลยีแบบ dedicated - connection switching ที่ จัดการข้อมูลดิจิตอล เป็นหน่วยเซลล์ขนาด 53 ไบต์ และส่งผ่านตัวกลางทางกายภาคโดยใช้เทคโนโลยีสัญญาณดิจ ิตอล โดยปกติเซลล์จะประมวลผล asynchronous อย่างสัมพัทธ์กับเซลล์อื่น และจัดแถวคอยก่อนการผสมความถี่ในเส้นทางการส่งผ่าน เนื่องจาก ATM ได้รับการออกแบบให้ทำงานกับฮาร์ดแวร์ได้ง่าย การประมวลเร็วกว่า และความเร็วในการสับเปลี่ยน อัตราข้อมูลเบื้องต้นอยู่ระหว่าง 155.520 ถึง 622.080 Mbps ความเร็วบนเครือข่าย ATM สามารถมีความเร็วถึง 10 Gbps พร้อมด้วย ระบบเครือข่ายแบบ Synchronous Optical และเกิดเทคโนโลยีต่าง ๆ ATM เป็นองค์ประกอบหลักของ broad band ISDN


4. ATX
ATX เป็นข้อกำหนดหรือสเป็ค (Specification) เปิดสำหรับแผ่นเมนบอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้ง โต๊ะ ปัจจุบันใช้เวอร์ชัน 2.0 (ธันวาคม 1996)
ATX ปรับปรุงการออกแบบเมนบอร์ดจากข้อกำหนดแบบ AT โดยเปลี่ยนตำแหน่งไมโครโพรเซสเซอร์ และ expansion slot ไป 90 องศา เพื่อทำให้มีพื้นที่ว่างในการเพิ่มการ์ด เพิ่มความสูงให้สามารถเพิ่มอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น TV input/output, การต่อ LAN เป็นต้น ทำให้การใช้สายต่อลดลง power supply มีพัดลมแบบติดตั้งด้านข้าง เพื่อทำให้สามารถระบายความร้อนของ ไมโคร
โพรเซสเซอร์และการ์ดโดยตรง ซึ่งเวอร์ชัน 2.0 ได้ปรับปรุงส่วนของ chassis และ power supply


5. Audio
audio เป็นเสียงภายในช่วงการได้ยินของคน ความถี่ audio เป็นไฟฟ้ากระแสสลับภายในช่วง 20 ถึง 20,000 hertz (รอบต่อวินาที) ในคอมพิวเตอร์ audio เป็นระบบเสียงที่มากับคอมพิวเตอร์หรือเพิ่มเข้าไป การ์ด audio ประกอบด้วยตัวประมวลผลพิเศษและหน่วยความจำ สำหรับการประมวลผลไฟล์และส่งไปที่ลำโพง เสียงเป็นสัญญาณแบบอะนาล็อก ซึ่งแปลงเป็นดิจิตอล โดยการ์ด audio โดยใช้ตัวประมวลผลแบบ analog-to-digital เมื่อมีการใช้เสียงสัญญาณดิจิตอลจะส่งไปยังลำโพง ซึ่งจะมีการแปลงกลับไปเป็นสัญญาณอะนาล็อกให้เป็นเสีย งอีกครั้งหนึ่ง
ไฟล์ audio มักจะถูกบีบอัด (compression) สำหรับการเก็บหรือการส่งที่เร็วกว่า ไฟล์ audio สามารถส่งเป็นไฟล์เดียว เช่น ไฟล์ wave เพื่อที่จะทำให้ผู้ใช้ได้รับเสียงแบบ real time ในการฟังดนตรี หรือการประชุมแบบ Video conference สำหรับการ์ด audio แบบพิเศษที่สนับสนุน wave table ส่วนรูปแบบ ของไฟล์ audio ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือ MP3 (MPEG-1 Audio Layer - 3)
 

6. CD-RW
CD-RW (ย่อมาจาก compact disc, rewriteable) เป็นประเภทของรูปแบบคอมแพ็คดิสก์ที่ยอมให้บันทึกหลาย ครั้ง (worm) ที่ยอมให้บันทึกบนซีดี 1 ครั้ง รูปแบบ CD-RW ได้รับการแนะนำโดย Hewlett-Packard, Mitsubishi, Philips, Ricoh และ Sony ในเอกสารข้อกำหนดของพวกเขาในปี 1997 หรือ Orange Book ก่อนการออกวาง Orange Book ซีดีเป็นการอ่านเฉพาะ audio (CD-Digital Audio, อธิบายใน Red Book) ที่เล่นได้ในเครื่องเล่นซีดีและมัลติมีเดีย (CD-ROM) หรือเล่นในเครื่องคอมพิวเตอร์ในไดร์ฟ CD-ROM หลังจาก Orange Book ผู้ใช้สามารถสร้างซีดีของตัวเองจากเครื่องคอมพิวเตอร ์ตั้งโต๊ะ ไดร์ฟ CD-RW สามารถเขียนได้ทั้งดิสก์ CD-R และ CD-RW รวมทั้งสามารถอ่านซีดีทุกประเภท


7. Cache Memory
Cache Memory หรือ Cache หรือ หน่วยความจำแคช หรือ แคช คือหน่วยความจำแรม (RAM) ซึ่งไมโครโปรเซสเซอร์หรือโปรเซสเซอร์แกนหลัก (Core Processor) สามารถเข้าถึงได้เร็วกว่าหน่วยความจำหลัก (Main Memory) บนระบบคอมพิวเตอร์

กระบวนการประมวลผลข้อมูลของไมโครโปรเซสเซอร์นั้น ขั้นตอนแรกคือการเข้าไปค้นหาข้อมูลในแคชก่อน ซึ่งถ้าเจอข้อมูลที่ต้องการ ก็ไม่ต้องเสียเวลาไปค้นหาข้อมูลในหน่วยความจำหลักที่ ใหญ่กว่าในระดับถัดออกไป อาทิ Cache L1, Cache L2, (Cache L3), Memory, Harddisk

บ่อยครั้งที่แคชจะถูกกำกับด้วยระดับความใกล้หรือความ ง่ายในการเข้าถึงโดยไมโครโปรเซสเซอร์

แคชระดับ1 (Cache L1) คือแคชที่อยู่เป็นเนื้อเดียวกันบนตัวไมโครโปรเซสเซอร ์ สามารถเข้าถึงได้เร็วและง่ายที่สุด

แคชระดับ2 (Cache L2) คือแคชที่อยู่ห่างออกมาอีกระดับหนึ่ง ก่อนนี้มักนิยมแยกมาไว้บนสแตติกแรม (SRAM) แต่ปัจจุบัน โปรเซสเซอร์เกือบทุกรุ่นจะมีแคช L2 อยู่บนตัวชิป ซึ่งทำให้แคชที่อยู่บนตัวสแตติกแรมกลายเป็นแคชระดับ 3 (Cache L3) ไปโดยปริยาย

ขณะที่หน่วยความจำหลัก (Memory) จะเป็นไดนามิกแรมหรือดีแรม (DRAM) ที่ปัจจุบันดีดีอาร์-ดีแรม (DDR-DRAM) จะเป็นแบบที่นิยมมากที่สุดและกำลังกลายเป็นมาตรฐานสำ หรับระบบคอมพิวเตอร์

สรุปว่า แคช (Cache) คือหน่วยความจำขนาดเล็กที่อยู่ใกล้กับไมโครโปรเซสเซอ ร์ (Core Processor) มากที่สุด เป็นหน่วยความจำที่ไมโครโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงได้ เร็วกว่าหน่วยความจำหลัก (RAM) บนระบบคอมพิวเตอร์ การเพิ่มขนาดแคชทำให้ระบบสามารถเก็บข้อมูลที่โปรเซสเ ซอร์ต้องใช้ในการประมวลผลได้มากขึ้น ทำให้ใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลน้อยลง ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบดีขึ้นด้วย
 

8. CPU
CPU (Central Processing Unit) หรือ โปรเซสเซอร์ (Processor) คือ ส่วนหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่ควบคุมกา รทำงานของส่วนอื่นๆ โดยทั่วไปแล้ว ซีพียูจะประกอบไปด้วย หน่วยควบคุม (Control Unit), หน่วยประมวลผลคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ (Arithmetic and Logic Unit; ALU) และหน่วยความจำ ได้แก่ รีจีสเตอร์ (Register), แคช (Cache), แรม (RAM) และรอม (ROM)


9. Data
   1. ในการคำนวณ ข้อมูล (data) เป็นสารสนเทศ (information) ที่สามารถแปลเป็นรูปแบบที่สะดวกในการเคลื่อนย้าย หรือประมวลผล สัมพัทธ์กับคอมพิวเตอร์ และตัวกลางในการส่งผ่านข้อมูล เป็นสารสนเทศที่แปลงเป็นรูปแบบ binary หรือ ดิจิตอล

   2. ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ติดต่อภายในหรือ การสื่อสารผ่านเครือข่าย ข้อมูลมักจะแยกจาก "control information", "control bits" และคำที่คล้ายกันในการชี้หน่วยการส่งเนื้อหาหลัก

   3. ในด้านโทรคมนาคม ข้อมูลบางครั้งหมายถึง สารสนเทศ ของรหัสแบบดิจิตอล ที่แยกจากสารสนเทศของรหัสแบบอะนาล็อก เช่น โทรศัพท์แบบดั้งเดิม โดยทั่วไป อะนาล๊อก หรือเสียง ( voice) มีการส่งผ่านที่ต้องการ การติดต่อที่ต่อเนื่อง สำหรับการกำหนดเวลาของชุดการส่งที่สัมพันธ์กัน การส่งผ่านข้อมูล สามารถส่งด้วยการติดต่อแบบเป็นช่วงในรูปของแพ็คเกต

   4. โดยทั่วไป และในวิทยาศาสตร์ ข้อมูลหมายถึง ตัวของข้อเท็จจริง
data ที่มีจากภาษา ลาติน ซึ่ง data เป็นรูปพหูพจน์ของ "datum" โดยการใช้รูปพหูพจน์ "data" แต่การใช้ "datum" พบน้อยมาก และมีการใช้ "data" ในความหมายเอกพจน์


10. DDR SDRAM
DDR SDRAM หรือ Double Data Rate SDRAM หรือ ดีดีอาร์เอสดีแรม หรือ ดีดีอาร์ คือ เอสดีแรม (SDRAM) ที่ตามทฤษฎีแล้ว สามารถพัฒนาให้สามารถทำงานที่ความเร็วสูงขึ้นถึง 200MHz (เมกะเฮิร์ตซ) และมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คือ รับส่งข้อมูลได้ทั้งทั้งขาขึ้นและขาลงของสัญญาณคล็อก เทียบกับเอสดีแรมปกติที่จะรับส่งข้อมูลเฉพาะขาขึ้นขอ งสัญญาณคล็อกเพียงด้านเดียว


11. DRAM
Dynamic Random Access Memory หรือ DRAM หรือ ดีแรม คือ แรม (Random Access Memory; RAM) หรือ หน่วยความจำชนิดปกติสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและ เครื่องเวิร์คสเตชั่น (Workstation) หน่วยความจำคือเครือข่ายของประจุไฟฟ้าที่เครื่องคอมพ ิวเตอร์ใช้เก็บข้อมูลในรูปของ "0" และ "1" ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ

Random Access หรือ การเข้าถึงแบบสุ่ม หมายถึง โปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงทุกๆส่วนของหน่วยความจำหรือ พื้นที่เก็บข้อมูลได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องค้นหาข้อมูลที่ต้องการเรียงตามลำดับจาก จุดเริ่มต้น

DRAM คือไดนามิก ซึ่งตรงกันข้ามกับ SRAM หรือ สแตติกแรม (Static RAM); DRAM ต้องการการรีเฟรช (Refresh) เซลเก็บข้อมูล หรือการประจุไฟ (Charge) ในทุกๆช่วงมิลลิวินาที ในขณะที่ SRAM ไม่ต้องการการรีเฟรชเซลเก็บข้อมูล เนื่องจากมันทำงานบนทฤษฎีของการเคลื่อนที่ของกระแสไฟ ฟ้าซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงใน 2 ทิศทาง ไม่เหมือนกับเซลเก็บข้อมูลซึ่งเป็นเพียงตัวเก็บประจุ ไฟฟ้าเท่านั้น โดยทั่วไป SRAM มักจะถูกใช้เป็นหน่วยความจำแคช (Cache Memory) ซึ่งโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงได้เร็วกว่า

DRAM จะเก็บทุกๆบิตในเซลเก็บข้อมูล ซึ่งประกอบขึ้นด้วยกลุ่มตัวเก็บประจุ (คาปาซิเตอร์; Capacitor) และทรานซิสเตอร์ (Transistor) คาปาซิเตอร์จะสูญเสียประจุไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว และนั่นเป็นเห็นเหตุผลว่า ทำไม DRAM จึงต้องการการรีชาร์ต

ปัจจุบัน มีแรมมากมายหลากหลายชนิดในท้องตลาด เช่น EDO RAM, SDRAM และ DDR SDRAM เป็นต้น
 


12. DVD+RW
DVD+RW เป็นเทคโนโลยีที่ร่วมกันพัฒนาขึ้นโดยบริษัทฮิวเลตต์แ พคการ์ด, มิตซูบิชิ, ฟิลิปส์, ริโค, โซนี่, เดลล์, คอมแพค และยามาฮา ซัพพอร์ตการ Re-Writable และสามารถใช้ได้กับทั้งเครื่องเล่น DVD และไดร์ฟ DVD-ROM ของเครื่องคอมพิวเตอร์
ไม่สามารถใช้เขียนหรืออ่านแผ่น DVD-RAM ได้ แต่กับแผ่น CD-R และ CD-RW ไม่มีปัญหา เพราะเทคโนโลยีนี้มีพื้นฐานเดียวกับ CD-R และ CD-RW มีความจุ 4.7GB ต่อหน้า สามารถเขียนทับได้กว่า 1,000 ครั้ง ส่วนเวอร์ชั่นที่สามารถ Re-Writable ได้ครั้งเดียวนั้น จะเรียกว่า DVD+R 


13. DVD-R
DVD-R หรือ ดีวีดี-อาร์ เป็นมาตรฐานดีวีดีซึ่งคิดค้นและพัฒนาขึ้นโดยบริษัทไพ โอเนียร์ (Pioneer) มีความจุ 4.7GB (กิกะไบต์) ต่อหน้า คุณสมบัติจะคล้ายกับ DVD-ROM คือใช้เขียนได้ครั้งเดียว แรกเริ่มเดิมทีตั้งใจจะพัฒนาขึ้นมาสำหรับผู้ใช้ระดับ โปรเฟสชั่นแนลเท่านั้นภายใต้มาตรฐาน DVD-R (A) แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเวอร์ชั่นสำหรับผู้ใช้ทั่วไ ปออกมาร่วมทำตลาดด้วยภายใต้มาตรฐาน DVD-R (G) ข้อแตกต่างระหว่าง 2 เวอร์ชั่นก็คือ เวอร์ชั่น A จะซัพพอร์ตการทำมาสเตอริ่งและมีเทคโนโลยีป้องการก็อป ปี้ข้อมูล ขณะที่เวอร์ชั่น G ไม่มี คุณสมบัติเด่นอีกประการหนึ่งของ DVD-R ก็คือ สามารถเล่นได้กับทั้งเครื่องเล่น DVD ทั่วไปและไดร์ฟ DVD-ROM ของเครื่องคอมพิวเตอร์ 


14. DVD-RAM
DVD-RAM หรือ ดีวีดีแรม เป็นเสมือนหนึ่งฮาร์ดดิสก์ มีการอ่านเขียนข้อมูลแบบสุ่มหรือแรนดอม (Random) เดิมมีความจุเพียง 2.6GB ต่อหน้า แต่ถูกปรับปุรงให้เป็น 4.7GB ต่อหน้าในภายหลัง และในปัจจุบันแผ่น DVD-RAM แบบดับเบิลไซด์จะมีความจุสูงสุดถึง 9.4GB สามารถเขียนทับได้มากกว่า 100,000 ครั้งโดยไม่ต้องรีฟอร์แมตก่อน อย่างไรก็ตาม DVD-RAM มีข้อจำกัดคือ
ไม่สามารถเล่นกับเครื่องเล่น DVD หรือไดร์ฟ DVD-ROM ได้ จำเป็นต้องเล่นกับไดร์ฟ DVD-RAM โดยเฉพาะเท่านั้น 


15. DVD-ROM
DVD-ROM หรือ ดีวีดีรอม รายละเอียดเชิงเทคนิคโดยทั่วไปจะเหมือนกันกับ DVD Video คือฟอร์แมตมาตรฐานที่ใช้กันใน “ฮอลลีวูด” (Hollywood) หรือในวงการภาพยนตร์ เพื่อการบันทึกข้อมูลภาพ ทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง รวมถึงข้อมูลเสียง
มีคุณภาพสูงกว่าฟอร์แมต CD และมีความจุสูงสุดประมาณ 17 กิกะไบต์ แต่ที่พิเศษกว่าคือ สามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ด้วย เพื่อการบันทึกข้อมูลประเภทดาต้าอื่นๆ 


16. DVD-RW
DVD-RW หรือ ดีวีดี-อาร์ดับเบิลยู เป็นมาตรฐานที่พัฒนาต่อยอดจาก DVD-R ให้มีความสามารถทั้งอ่านและเขียน มีความจุ 4.7GB (กิกะไบต์) ต่อหน้า สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำ (Re-Written) ได้ประมาณ 1,000 ครั้ง และสามารถเล่นได้กับทั้งเครื่องเล่น DVD ทั่วไปและไดร์ฟ DVD-ROM ของเครื่องคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับ DVD-R
 


17. EEPROM
EEPROM หรือ Ectrically Erasable Programmable Read-Only Memory หรือ อีเอ็ปรอม คือหน่วยความจำรอม (ROM) ที่ผู้ใช้สามารถลบหรือแก้ไขหรือเขียนซ้ำข้อมูลที่บรร จุอยู่ภายในได้ และสามารถกระทำซ้ำได้หลายครั้ง โดยอาศัยแอพพลิเคชั่นที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูงกว่าปกติ EEPROM จะต่างจาก EPROM ตรงที่ไม่จำเป็นต้องถอดออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่ อทำการแก้ไขข้อมูล การลบข้อมูลใน EEPROM จะเป็นการลบข้อมูลทั้งหมด ไม่สามารถเลือกลบเฉพาะบางส่วนได้ อย่างไรก็ตามมันมีอายุการใช้งานจำกัดขึ้นอยู่กับจำนว นครั้งในการลบหรือแก้ไขข้อมูล เช่น 10 ครั้งหรือ 100 ครั้ง รูปแบบพิเศษของ EEPROM คือหน่วยความจำแฟลช (Flash Memory) ซึ่งใช้ระดับไฟปกติในเครื่องพีซีสำหรับการลบหรือเขีย นหรือแก้ไขข้อมูล 


18. FAT & FAT32
FAT (File Allocation Table) เป็นตารางแผนที่ของ คลัสเตอร์ (คลัสเตอร์ เป็นหน่วยพื้นฐานด้านการเก็บแบบ logical บนฮาร์ดดิสก์) ที่ระบบปฏิบัติการใช้ในการควบคุมฮาร์ดดิสก์ เพื่อทำให้ทราบถึงตำแหน่งไฟล์ที่เก็บอยู่ เมื่อมีการเขียนไฟล์ใหม่ลงบนฮาร์ดดิสก์ ถ้าไฟล์มีขนาดใหญ่ 1 คลัสเตอร์ การเก็บอาจจะไม่เก็บในคลัสเตอร์ที่ต่อกัน แต่อาจจะกระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของฮาร์ดดิสก์ ขนาดคลัสเตอร์ (มาตรฐาน) ปกติ มีขนาด 2,048 ไบต์ 4,096 ไบต์ 8,192 ไบต์ ระบบปฏิบัติการจะสร้าง FAT entry สำหรับไฟล์ใหม่ เพื่อบันทึกคลัสเตอร์แต่ละคลัสเตอร์ที่เก็บและลำดับค วามต่อเนื่อง เมื่อมีการอ่านไฟล์ระบบปฏิบัติการ
จะทำการประกอบไฟล์จ ากคลัสเตอร์ต่าง ๆ เพื่อเรียกไฟล์มาใช้งาน

DOS และ Windows ใช้ FAT ขนาดความยาว 16 บิต ทำให้จำกัดขนาดฮาร์ดดิสก์ที่ขนาด 128 เมกกะไบต์ โดยมีคลัสเตอร์ 2,048 ไบต์ Windows 95 OSR2 สามารถสนับสนุนได้ถึง 512 เมกกะไบต์

โดยใช้ขนาดคลัสเตอร์ 8,192 แต่ต้นทุนการใช้คลัสเตอร์ขาดประสิทธิภาพ DOS 5.O และเวอร์ชันต่อมาสามารถสนับสนุนฮาร์ดดิสก์ได้ถึง 2 กิกะไบท์ FAT ขนาด 16 บิต โดยการแบ่งออกเป็น 4 พาร์ติชัน

เมื่อมีการใช้ FAT32 ทำให้ Windows 95 OSR2 สามารถสนับสนุนฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่ ได้ถึง 2 เทอร์ร่าไบต์ อย่างไรก็ตามผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล สามารถได้ประโยชน์จาก FAT32 ด้วยการใช้ไดรพ์ขนาด 5 หรือ 10 กิกะไบต์
 


19. Gigahertz
gigahertz (กิกะเฮิร์ตซ์) ตัวย่อ GHz เป็นหน่วยของความถี่ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EM) เท่ากับหนึ่งพันล้านเฮิร์ตซ์ (1,000,000,000 Hz) gigahertz ได้รับการใช้เป็นตัวชี้ความถี่ของ ultra-high-frequency (UHF) และสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไมโครเวฟ (microwave) และรวมถึงในบางคอมพิวเตอร์ ใช้แสดงความเร็วนาฬิกาของไมโครโพรเซสเซอร์

ความถี่ 1 GHz ของสัญญาณ EM มีความยาวคลื่น 300 มิลลิเมตร หรือสั้นกว่าเท้าเล็กน้อย ความถี่ 100 GHz ของสัญญาณ EM
มีความยาวคลื่น 3 มิลลิเมตร ซึ่งเกือบเท่ากับ 1/8 นิ้ว การส่งผ่านคลื่นวิทยุได้การทำความถี่ได้ถึงหลายร้อย gigahertz ความเร็วนาฬิกาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกำลังเพิ่มขึ้นเด ือนต่อเดือนในฐานะความล้ำหน้าของเทคโนโลยี และถึงจุด 1 GHz ในเดือนมีนาคม 2543 ด้วยโพรเซสเซอร์ของ AMD ตามด้วย 1 GHz Pentium 3 จาก Intel

หน่วยความถี่อื่นที่ใช้ทั่วไป คือ kHz เท่ากับ 1,000 Hz หรือ 0.000001 GHz และ MHz เท่ากับ 1,000,000 Hz หรือ 0.001 GHz
 


20. Home page
home page
1. สำหรับผู้ใช้เว็บ home page คือ เว็บเพจแรกที่ปรากฏหลังจากเริ่มใช้ web browser เช่น Netscape Navigator หรือ Microsoft Internet Explorer ซึ่ง browser มักจะได้รับการตั้งค่าก่อน ดังนั้น home page คือ เพจแรกของผู้ผลิต browser อย่างไรก็ตามผู้ใช้สามรถตั้งค่าการเปิด web site อื่น ๆ ได้ เช่น การระบุเป็น "http://yahoo.com" หรือ "http://www.widebase.net" เป็น home page ของผู้ใช้ และสามารถระบุเป็นหน้าว่างได้ สำหรับกรณีที่เลือกเพจแรกจาก รายการ book mark หรือ ป้อน address ของเว็บ

2. สำหรับผู้พัฒนา web site, home page ซึ่งเป็นเพจแรกที่ปรากฏเมื่อผู้ใช้เลือก site หรือ presence บน world wide web
ซึ่ง address ของ web site คือ address ของ home page ถึงแม้ว่าผู้ใช้สามรถป้อน address (URL) ของทุกเพจ และมีการส่ง
เพจมาให้





 

ที่มา  http://www.osteokku.com/th/%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%89/e-variety-it-menu/63-it-technology-001.html



อุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องในระบบ Bus

1. ระบบบัส และช่องสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ (Bus & Slot)
    บัสเป็นทางเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งที่อยู่บนเมนบอร์ดและที่ติดตั้งเพิ่มเข้ามา ตั้งแต่ ซีพียู, หน่วยความจำ, แคช, ฮาร์ดดิสก์, สล็อตต่างๆ และจอภาพ เป็นต้น ดังนั้น ความเร็วและประสิทธิภาพในการทำงานของบัสจึงมีผลอย่างมากกับประสิทธิภาพโดยรวมของคอมพิวเตอร์
    ระบบบัสที่เหมาะสมจะต้องมีความเร็วเพียงพอที่จะให้อุปกรณ์ต่างๆ รับส่งข้อมูลระหว่างกันได้เต็มความเร็วของอุปกรณ์นั้นๆ เพื่อไม่ให้เป็นตัวถ่วงอุปกรณ์อื่นๆ อันจะทำให้ความเร็วโดยรวมของทั้งเครื่องลดลง
    โครงสร้างของระบบบัสของเครื่องคอมพิวเตอร์มีความสลับซับซ้อน ทั้งนี้เนื่องจากอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ การ์ดแสดงผล และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ได้ถูกพัฒนาให้มีความเร็วเพิ่มขึ้น จึงทำให้ต้องพัฒนาชิปเซ็ตและระบบบัสต่างๆ ตามไปด้วย

                         bus
                      ระบบบัสและสล็อตต่างๆ มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกันอย่างไร?

1.1 บัสและซ็อคเก็ตของซีพียู
    บัสที่สำคัญที่สุด คือ บัสที่ใช้เชื่อมต่อกับซีพียู เรียกว่า Front Side Bus (FSB) ซึ่งเป็นบัสที่ต้องทำงานด้วยความถี่สูงสุดภายนอกของซีพียู เช่น 100, 133, 166, 200 และ 266 MHz เป็นต้น เนื่องจากเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างซีพียู (ซึ่งติดตั้งอยู่กับซ็อคเก็ตของซีพียู) กับชิปเซ็ตตัวหลัก

                                  front
1.2 บัสและสล็อตของอุปกรณ์ความเร็วสูง
    สล็อตของอุปกรณ์ความเร็วสูง เช่น PCI, AGP และ PCI Express เป็นต้น

PCI (Peripheral Component Interconnect) และ PCI-X (PCI Extended)
    บัส PCI เป็นบัสความเร็วค่อนข้างสูง ใช้เชื่อมต่อระหว่างชิปเซ็ตกับอุปกรณ์ความเร็วรองลงมา เช่น การ์ดเสียง, การ์ดโมเด็ม, การ์ดแลน เป็นต้น มาตรฐานของบัส PCI ปัจจุบันจะมีความกว้างบัส 32 บิต และ 64 บิต ซึ่งบัสแบบ 64 บิตนี้จะเรียกว่า PCI-X

                           pci
  
AGP (Accelerated Graphic Port)
    AGP เป็นพัฒนาการที่ต่อจากบัส PCI โดยทำงานที่ความถี่ 66 MHz บัส AGP นี้ถูกออกแบบมาสำหรับการ์ดแสดงผลโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีการส่งข้อมูลมากที่สุด และจำเป็นต้องส่งผ่านข้อมูลให้ได้เร็วที่สุด เพราะจะมีผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีข้อจำกัดคือ เมนบอร์ดส่วนใหญ่จะมีสล็อต AGP อยู่เพียงสล็อตเดียวเท่านั้น แต่สำหรับมาตรฐานของระบบบัสอย่าง PCI Express จะสามารถมีได้มากกว่า 1 ช่องบนเมนบอร์ดเดียวกัน
PCI Express
    PCI Express นั้นเป็นบัสที่ทำงานแบบ Serial และสามารถเลือกใช้ความเร็วมากน้อยตามต้องการได้ โดยแบ่งออกเป็นช่องสัญญาณ (channel) หรือ lane ของ PCI ซึ่งจะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลแต่ละทิศทาง 250 MB/sec และรวมสองทาง (Full-Duplex) สูงถึง 500 MB/sec ซึ่งขั้นต่ำสุดเรียกว่า PCI Express x1 ถูกออกแบบให้มาแทนที่ PCI Bus แบบเดิม ประกอบด้วย 1 lane สล็อตก็จะสั้นหน่อย ส่วนขั้นถัดไปจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 2, 4, 8 และ 16 เท่าตามลำดับ ก็จะประกอบด้วย 2, 4, 8 และ 16 lane ที่รับส่งข้อมูลพร้อมกัน สล็อตก็จะยาวขึ้น (มีขั้วต่อมากขึ้น) เรียกว่าเป็น PCI Express x2, x4, x8 และสูงสุดคือ PCI Express x16 ที่เร็วถึง 8 GB/sec ซึ่งจะมาแทนที่สล็อตแบบ AGP 8x ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
นอกจากนี้ด้วยข้อจำกัดที่มีมานานของเมนบอร์ดส่วนใหญ่จะสามารถมีสล็อต AGP ได้เพียงสล็อตเดียวเท่านั้น แต่สำหรับมาตรฐานใหม่อย่าง PCI Express x16 ที่จะมาแทนที่สล็อต AGP แบบเดิมนั้นจะสามารถมีได้มากกว่า 1 ช่องบนเมนบอร์ดเดียวกัน

                      pcie

2. BIOS (Basic Input/Output System)
    BIOS คือ ชิปที่ถูกติดตั้งมาบนเมนบอร์ดจากโรงงาน ภายในบรรจุโปรแกรมหรือชุดคำสั่งขนาดเล็กสำหรับควบคุมการทำงานขั้นพื้นฐาน เช่น การทำกระบวนการ POST (Power-On Self Test) ของเครื่อง รวมทั้งโปรแกรมที่ใช้ตั้งค่าการทำงานให้กับเครื่อง ที่เรียกว่า BIOS หรือ CMOS Setup ที่จะบันทึกข้อมูลและค่าต่างๆ ไว้ใน ชิปหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า ซีมอส (CMOS) ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่กินไฟน้อย และเก็บข้อมูลได้โดยใช้แบตเตอรี่ที่อยู่บนเมนบอร์ด ซึ่งจะคอยจ่ายไฟเลี้ยงให้ตลอดเวลาแม้ในขณะที่ปิดเครื่อง ถ้าแบตเตอรี่ก้อนนี้หมดหรือถูกถอดออก ค่าที่ตั้งไว้ก็จะหายและกลับไปใช้ค่าเริ่มต้นแทน

                                                   bios


 3. ขั้วต่อและพอร์ตต่างๆ

                      port

 ที่มา   http://www.pccpl.ac.th/~tech/device_com04.php

ระบบ Bus ทำงานได้อย่างไรในคอมพิวเตอร์

เนื่องจากหน้าที่ของบัส คือ ขนส่งข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์ ดังนั้น บัสในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็คือ เส้นโลหะที่เป็นตัวนำสัญญาณไฟฟ้า อยู่บนแผงวงจรต่างๆ เช่น เมนบอร์ด หรือการ์ดต่างๆ มักใช้ทองแดงเป็นตัวนำสัญญาณเหมือนสายไฟทั่วไป มีลักษณะเป็นลายวงจร เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง เรียงกันอยู่ มีการทำงานที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน จึงมักเรียกว่า ระบบบัส หรือ BUS System ซึ่งก็คือ การทำงานเป็นอย่างระบบ โดยจะมีวงจรสำหรับควบคุมการทำงานของระบบบัส เรียกว่า BUS Controller ทำหน้าที่จัดช่องสัญญาณต่างๆ บนเมนบอร์ดให้ทำงานร่วมกันได้กับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น CPU อุปกรณ์นำเข้า - ส่งออกข้อมูล หรือ พอร์ตต่างๆ อย่างเป็นระบบ ในปัจจุบัน ส่วนควบคุมนี้ได้ถูกรวมเข้าไว้ใน North Bridge บนเมนบอร์ด

ความหมายของคำว่า BUS ในอีกนัยหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์นั้น จะเกี่ยวข้องไปทางระบบเครือข่าย โดยคำว่า บัส นั้น เป็นรูปแบบ (topology) หนึ่งของการเชื่อมต่อในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เรียกว่า การเชื่อมต่อแบบบัส ซึ่งจะมีเส้นทางหลักเป็นเหมือนถนนเส้นหลัก และแตกย่อยไปสู่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง แต่ในที่นี้จะขอละความหมายตรงนี้ไป


ที่มา  http://www.itexcite.com/article/BUS-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C.html

วิวัฒนาการและเทคโนโลยีระบบ Bus

1.PC BUS

เมื่อ IBM ได้ทำการเปิดตัว IBM PC ( XT ) ตัวแรก ซึ่งใช้ CPU 8088 เป็น CPU ขนาด 8 Bit ดังนั้น เครื่อง Computer เครื่องนี้ จึงมีเส้นทางข้อมูลเพียง 8 เส้นทาง( 8 data line ) และ เส้นทางที่อยู่ 20 เส้นทาง ( 20 address line ) เพื่อใช้ในการอ้างตำแหน่งของหน่วยความจำ Card ที่นำมาต่อกับ PC Bus นั้น จะเป็น Card แบบ 62 pin ซึ่ง 8 pin ใช้สำหรับส่งข้อมูล อีก 20 pin ไว้สำหรับอ้างตำแหน่งของหน่วยความจำ ซึ่ง CPU 8088 นั้น สามารถอ้างอิงหน่วยความจำได้เพียง 1 Megabyte ซึ่งในแต่ละ pin นั้น สามารถส่งข้อมูลได้เพียง 2 ค่า คือ 0 กับ 1 ( หรือ Low กับ High ) ดังนั้น เมื่อใช้ 20 pin ก็จะอ้างอิงตำแหน่งได้ที่ 2 คูณกัน 20 ครั้ง ( หรือ 2 ยกกำลัง 20 ) ซึ่งก็จะได้เท่ากับ 1 Meg. พอดี ส่วน pin ที่เหลือก็ใช้เป็นตัวกำหนดการอ่านค่า ว่าอ่านจากตำแหน่งของหน่วยความจำ หรือ ตำแหน่ง ของ Input/Output หรือ บาง pin ก็ใช้สำหรับจ่ายไฟ +5, -5, +12 และ สาย Ground ( สายดิน ) เพื่อจ่ายไฟให้กับ Card ที่ต่อพ่วงบน Slot ของ PC Bus นั่นเอง และ ยังมี pin บางตัวที่ทำหน้าที่เป็นตัว reset หรือ เป็นตัว refresh หรือแม้กระทั่ง clock หรือ สัญญาณนาฬิกาของระบบนั่นเอง

ระบบ Bus แบบ PC Bus นี้ มีความกว้างของ Bus เป็น 4.77 MHz และ สามารถส่งถ่ายข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่ 2.38 MB ต่อ วินาที

2.ISA Bus (ISA=Industry Standand Architecture)

ในยุคของ PC AT หรือ ตั้งแต่ CPU รุ่น 80286 เป็นต้นมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของ เส้นทางข้อมูลจาก 8 Bit ไปเป็น 16 Bit ทำให้ IBM ต้องมาทำการออกแบบระบบ Bus ใหม่ เพื่อให้สามารถส่งผ่านข้อมูลทีละ 16 Bit ได้ แน่นอนว่า การออกแบบใหม่นั้น ก็ต้องทำให้เกิดความเข้ากันได้ย้อนหลังด้วย ( Compatble ) กล่าวคือ ต้องสามารถใช้งานกับ PC Bus ได้ด้วย
แต่ปัญหานี้ IBM แก้ไข โดยการทำ Slot มาต่อเพิ่มจาก PC Bus เดิม อีก 36 Pin โดยที่เพิ่มเส้นทางข้อมูลอีก 8 Pin รวมแล้วก็จะเป็น 16 Pin สำหรับส่งข้อมูลได้ทีละ 16 Bit พอดี และ เพิ่ม 4 Pin สำหรับทำหน้าที่อ้างตำ- แหน่งจากหน่วยความจำ ซึ่งก็จะรวมเป็น 24 Pin และ จะอ้างได้มากถึง 16 Meg. ( 2 ยกกำลัง 24 ) ซึ่งก็เป็นขนาดของหน่วยความจำสูงสุดที่ CPU 80286 นั้น สามารถจะอ้างได้ แต่อย่างไรก็ตาม การอ้าง ตำแหน่งของ I/O Port นั้น ก็ยังคงถูกจำกัดไว้ที่ 1,024 อยู่ดี เนื่องจาก ปัญหาด้านความเข้ากันได้ กับ PC Bus
นอกจากนี้ Pin ที่เพิ่มเข้ามา ยังช่วยเพิ่มการอ้างตำแหน่ง DMA และ ค่าของ IRQ เพิ่มอีกด้วย ซึ่งเรื่องของ DMA และ IRQ Slot แบบใหม่นี้ เรียกว่าเป็น Slot แบบ 16-Bit ซึ่งต่อมาก็เรียกกันว่าเป็น AT Bus แต่เราจะรู้จักกันในนามของ ISA Bus มากกว่า โดยคำว่า ISA มาจากคำเต็มว่า Industry Standard Architecture




                  รูปแสดงรูปร่าง ของ ISA Bus แสดงตำแหน่งของทั้ง 8 Bit และ 16 Bit
เราสามารถนำ Card แบบ 8 Bit มาเสียบลงบนช่อง 16 Bit ได้ เพราะ ใช้ สถาปัตยกรรมพื้นฐานเหมือนๆกัน จะต่างกันก็ตรงส่วนที่เพิ่มมา สำหรับ 16 Bit เท่านั้น ซึ่งจะใช้ ( ในกรณีที่ใช้ Card 16 Bit ) หรือ ไม่ใช้ ( ในกรณีใช้ Card 8 Bit ) ก็ได้

ระบบ Bus แบบ ISA Bus นี้ มีความกว้างของ Bus เป็น 8 MHz และ สามารถส่งถ่ายข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่ 8 MB ต่อ วินาที



3.MCA Bus (MCA=Micro Channel Architecture)

เมื่อครั้งที่ IBM นั้นออกแบบ AT ขึ้นมา IBM ได้ทำการออกแบบระบบ bus ใหม่เพื่อให้ใช้ได้กับข้อมูล 16 บิต และได้เพิ่มจำนวนของ control line และ ออกแบบ PC AT busโดยขยายออกมาจาก PC bus ซึ่งจะทำให้ competible กับ PC hardware และ IBM จะใช้ 62 pins channel slot เหมือนกับที่ใช้ใน PC และ IBM ได้ทำการเปลี่ยนชื่อของ pin บาง pin ให้สั้นลง และทำการเพิ่มอีก 36 pin ซึ่งใช้เป็น auxiliary slot auxiliary bus นั้นประกอบด้วย bus ข้อมูล 8 เส้น address bus 7 เส้น interrupt request 5 เส้น DMA request และ acknowledge 4 เส้น และ 8 เส้นเป็น power และ control line

4.EISA Bus

การพัฒนา ขยายระบบ bus ของ PC AT bus นั้น ในปี 1991 Intel ได้ผลิต EISA chip set ซึ่งรวมเอา 82358 Bus controller 82357 Integrated System Peripheral และ 82355 Bus Master Interface Controller เข้าด้วยกัน เมื่อครั้งที่ IBM ทำการขยาย จาก PC bus ไปสู่ PC AT bus โดยการเพิ่ม data address และ control line ลงไป ผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบให้ compatible กับ ของเดิม เช่น ผู้ใช้สามารถใช้ กับอุปกรณ์ที่เป็นของ PCที่เป็น 8 บิต ได้ EISA bus นั้นได้ถูกออกแบบให้ขยายจาก PC AT ขึ้นมาโดยมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
EISA bus นั้นจะ compatible กับ PC และ PC AT bus และ EISA slot นั้นต้องสามารถใส่ card ของ PC ที่เป็น 8 บิต และ PC AT ที่เป็น 16 บิต ได้เช่นเดียวกับ 32 bit EISA card s bus master ทุกตัวสามารถใช้ส่ง data ไปยัง memory หรือ อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ หรือส่งข้อมูลจาก memory หรือ อุปกรณ์ที่ต่ออยู่ออกไป โดยไม่สนใจว่าจะเป็น 8,16 หรือ 32 bits EISA bus จะรองรับการส่งข้อมูลรอบต่อรอบไว้สำหรับ data ที่มีความกว้างแตกต่างกัน หรือ ชนิดของการส่งที่แตกต่างกัน เช่น single transfer และ burst transfer ( ส่งข้อมูลความเร็วสูงในแบบ Synchronou) EISA Bus อนุญาตให้อุปกรณ์เข้ามาใช้ interrupt line ร่วมกันได้แม้ว่าจะถูกออกแบบมาสำหรับ EISA device EISA bus controller รับประกันได้ว่าจะสามารถข้าถึง high priority bus master ตัวอย่างเช่น วงจรที่ทำการ refresh DRAM


5.Local Bus

เมื่อคราวที่ compaq ได้เปิดตัว Deskpro 386 นั้น ทาง Compaq ได้แยกสัญญาณนาฬิกาของหน่วยความจำหลัก, Bus และ CPU ออกจากกัน ซึ่ง Compaq ก็ได้ เปิดตัวระบบ Bus ใหม่ของตนไปด้วย เพราะ หน่วยความจำหลักของเครื่องนี้ จะอยู่บน slot ขนาด 32 bit ซึ่งออกแบบมาเฉพาะของ Compaq เท่านั้น ซึ่ง ก็เป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้ผลิตแต่ละบริษัท เริ่มที่จะหันไปออกแบบและผลิตระบบบัส ที่เป็นมาตราฐานของตนเองขึ้นมา
ระบบบัสเหล่านี้ แต่เดิมเรียกว่าเป็น Private Bus เพราะใช้เป็นการส่วนตัวเฉพาะบริษัทเท่านั้น แต่ต่อมาก็ เรียกว่าเป็น Local Bus เพราะใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกับ CPU ไม่ต้องพึ่งวงสัญญาณนาฬิกาพิเศษแยกออกจาก CPU เลย ซึ่งจะทำให้สามารถใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกันกับ CPU ในขณะนั้นได้ ซึ่งก็มักจะนำมาใช้กับหน่วยความจำหลัก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ แต่ก็มี Card แสดงผลอีกชนิดหนึ่งที่ต้องการความไวสูง เช่น Display Card ที่มีการเข้าถึงและส่งถ่ายข้อมูล ระหว่าง CPU กับ Display Card ได้เร็วแล้ว ก็ช่วยจะลดปัญหาเรื่อง Refresh Rate ต่ำ เพราะ CPU จะทำการประมวลผลและนำมาแสดงผลบนจอภาพ ยิ่งหากว่ามีการใช้ mode resolution ของ จอภาพสูง ๆ และเป็น mode graphics ด้วยแล้ว CPU ก็ยิ่งต้องทำการส่งถ่ายข้อมูลให้เร็วขึ้น เพื่อให้ภาพที่ได้ไม่กระตุก และไม่กระพริบ (Refresh Rate ต่ำเป็นเหตุให้จอกระพริบ) เนื่องจากระบบ Local Bus นั้นจะช่วยในการส่งผ่าน และเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว จึงได้มีบริษัทนำระบบ Local Bus มาใช้กับ Dispay Card ด้วย โดยบริษัทแรก ที่นำมาใช้และเปิดตัวอย่างเป็นทางการ คือ NEC ซึ่งใช้กับ NEC Powermate (ในปี 1991) และต่อ ๆ มาผู้ผลิตรายอื่น ๆ ก็ได้พยายามเลียนแบบ และได้ออกแบบระบบ Local Bus ของตน ซึ่ง Card ของแต่ละบริษัท ก็นำเอาไปใช้กับ บริษัทอื่นไม่ได้ ทำให้มีการ กำหนดมาตราฐานระบบ Bus นี้ขึ้นมา โดยกลุ่มนั้นชื่อ Video Electronic Standards Association หรือ VESA และได้เรียก มาตราฐานนั้นว่าเป็น VESA Local Bus หรือ สั้น ๆ ว่า VL Bus ในปี 1992
ระบบ VL Bus นั้นสามารถใช้สัญญาณนาฬิกา ได้สูงถึง 50 MHz ทั้งยังสนับสนุนเส้นทางข้อมูลทั้ง 32 bit และ 64 bit รวมถึงอ้างตำแหน่งหน่วยความจำได้สูงถึง 4Gigabyte อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม VL Bus ก็ไม่สถาปัตยกรรมที่ดีนัก เพราะไม่มีเอกลักษณ์ หรือ คุณสมบัติพิเศษนอกเหนือไปจาก ISA มากนัก เพราะจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้กับ ISA มากกว่าที่จะเป็นพัฒนาความสามารถให้เกับ ISA เนื่องจากยังคงให้ CPU เป็นตัวควบคุมการทำงาน ใช้ Bus Mastering ไม่ได้ และยังไม่สามารถปรับแต่งค่าต่าง ๆ ผ่านทาง Software ได้ จากจุดอ่อนตรงจุดนี้ ทำให้ Intel ได้ พัฒนาระบบ Local Bus ของตนขึ้น มานั่นเอง
 
                             


6.PCI Bus

ระบบ PCI หรือ Peripheral Computer Interconnect ก็เป็น Local Bus อีกแบบหนึ่ง ที่พัฒนาขึ้นโดย Intel ในเดือนกรกฎาคม ปี 1992 โดยที่แยกการควบคุมของระบบบัส กับ CPU ออกจากกัน และส่งข้อมูลผ่านกัน ทางวงจรเชื่อม (Bridge Circuit) ซึ่งจะมี Chipset ที่คอยควบคุมการทำงานของระบบบัสต่างหาก โดยที่ Chpiset ที่ควบคุมนี้จะเป็นลักษณะ Processor Independent คือ ไม่ขึ้นกับตัว Processor (หรือ CPU) แรกเริ่มที่เปิดตัวนั้น PCI จะเป็นบัสแบบ 32 bit ที่ทำงานด้วยความเร็ว 33 MHz ซึ่งสามารถให้อัตราเร็ว ในการส่งผ่านข้อมูลถึง 133 M/s
ต่อมา เมื่อ Intel เปิดตัว CPU ใน Generation ที่ 5 ของตน Intel Pentium ซึ่งเป็น CPU ขนาด 32 bit ทาง Intel ก็ได้ทำการกำหนดมาตราฐาน ของ PCI เสียใหม่ เป็น PCI 2.0 ในเดือนกรกฎาคม 1993 ซึ่ง PCI 2.0 มีความกว้างของเส้นทางข้อมูลถึง 64 bit ซึ่งหากใช้งานกับ Card 64 bit แล้ว ก็จะสามารถให้อัตราเร็วใน การส่งผ่านข้อมูลสูงสุดถึง 266 M/s จุดเด่นของ PCI ที่เห็นได้ชัด

                                                        
                      รูปแสดงรูปร่าง ของ PCI Bus ส่วน Slot สีดำด้านล่าง ก็คือ Slot ISA

นอกเหนือไปจากข้างต้น ก็ยังมีเรื่องของ Bus Mastering ซึ่ง PCI นั้น ก็สามารถ ทำได้เช่นเดียวกับ EISA และ MCA แล้ว Chipset ที่ใช้เป็นตัวควบคุมการทำงาน ก็ยังสนับสนันระบบ ISA และ EISA อีกด้วย ซึ่งก็สามารถทำให้ผลิต Mainboard ทีมีทั้ง Slot ISA, EISA และ PCI รวมกันได้ นอกจากนั้น ยังสนับสนุนระบบ Plug-and-Play อีกด้วย (เป็นมาตราฐานที่พัฒนาในปี 1992 ที่กำหนดให้ Card แบบ Plug-and-Play นี้ จะไม่มี Dipswitch หรือ Jumper เลย ทุกอย่าง ทั้ง IRQ, DMA หรือ Port จะถูก กำหนดไว้แล้ว แต่เราสามารถเลือก หรือ เปลี่ยนแปลงได้จาก Software)

                                               
                                    รูปแสดงรูปร่าง ของ PCI Bus อีกรูปหนึ่ง
      
                                             
                   รูปแสดงลักษณะของ PCI 64 Bit ( วงสีเหลือง ) และ PCI 32 Bit ( วงสีแดง )

7.AGP

     ในกลางปี 1996 เมื่อทาง Intel ได้ทำการเปิดตัว Intel Pentium II ซึ่งพร้อมกันนั้นก็ได้ทำการเปิดตัว สถาปัตยกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ของหน่วยแสดงผลด้วย นั่นก็คือ Accelerated Graphics Port หรือ AGP ซึ่งก็ได้เปิดตัว Chipset ที่สรับสนุนการทำงานนนี้ด้วย คือ 440LX (ซึ่งแน่นอนว่า Chipset ที่ออกมาหลัง จากนี้ ก็จะสนับสนุนการทำงาน AGP ด้วย AGP นั้น จะมีการเชื่อมต่อกับ Chipset ของระบบแบบ Poin-to-Point ซึ่ง จะช่วยให้การส่งผ่านข้อมมูล ระหว่าง Card AGP กับ Chipset ของระบบได้เร็วขึ้น และยังมีเส้นทาง

     เฉพาะ สำหรับติดต่อกับหน่วยความ จำหลักของระบบ เพื่อใช้ทำการ Redder ภาพ แบบ 3D ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย จากเดิม Card แสดงผล แบบ PCI นั้น จะมีปัญหาเรื่องของหน่วยความจำบน Card เพราะเมื่อต้องการใช้งาน ด้านการ Render ภาพ 3 มิติ ที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ ก็จำเป็นต้องมีการใช้หน่วยความจำบน Card นั้นมาก ๆ เพื่อ รองรับขนาดของพื้นผิว (Texture) ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของงาน Render แน่นอน เมื่อหน่วยความจำ มาก ๆ ราคาก็ยิ่งแพง ดังนั้นทาง Intel จึงได้ทำการคิดค้นสถาปัตยกรรมใหม่เพื่องานด้าน Graphics นี้ โดย เฉพาะ AGP จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา AGP นั้นจะมี mode ในการ render อยู่ 2 แบบ คือ Local Texturing และ AGP Texturing โดยที่ Local Texturing นั้น จะทำการ copy หน่วยความจำ ของระบบไปเก็บไว้ที่เฟรมบัฟเฟอร์ของ Card (หน่วยความจำ บนตัว Card) จากนั้นจงทำการประมวลผล โดยดึงข้อมูลจากเฟรวมบัฟเฟอร์บน Card นั้นอีกที ซึ่งวิธีการนี้ ก็เป็นวิธีการที่ใช้บนระบบ PCI ด้วย วิธีนี้จะพึ่งขนาดของหน่วยความจำบน Card มาก APG Texturing นั้น เป็นเทคนิคใหม่ที่ช่วยลดปริมาณของหน่วยความจำ หรือ เฟรมบัฟเฟอร์บน Display Card ลงได้มาก เพราะสามาถทำการใช้งาน หน่วยความจำของระบบให้เป็นเฟรมบัฟเฟอร์ได้เลย โดยไม่ต้องดึง ข้อมูลมาพักไว้ที่เฟรมบัพเฟอร์ของ Card โดยปกติแล้ว AGP จะทำงานที่ความเร็ว 66 MHz ซึ่งปม้ว่าระบบจะ ใช้ FSB เป็น 100 MHz แต่มันก็ยังคงทำงานที่ 66 MHz (ซึ่งตรงจุดนี้ Mainboard บางรุ่น บางยี่ห้อ สามารถ ปรับแต่งค่านี้ได้ แต่ ทั้งนี้ และทั้งนั้น ก็ควรคำนึงถึงขีดจำกัดของ Card และอุปกรณ์อื่น ๆ ด้วย) ซึ่งใน mode ปกติของมัน ก็จะมีความสามารถแทบจะเหมือนกับ PCI แบบ 66 MHz เลย โดยจะมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลที่ สูงถึง 266 M/s และนอกจากนี้ยังสามารถทำงานได้ทั้งขอบขาขึ้นและขอบขาลงของ 66 MHz จึงเท่ากับว่ามัน ทำงาน ที่ 133 MHz ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการส่งถ่ายข้อมูลได้สูงถึง 532 M/s (Card ที่ใช้ และ chipset ที่ใช้ต้อง สนับสนุนการทำงานแบบนี้ด้วย) ซึ่งเรียก mode นี้ว่า mode 2X และ mode ปกติว่าเป็น mode 1X สำหรับ ความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลนั้น ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของหน่วยความจำหลักด้วย ถ้าหน่วยความจำหลัก เป็นชนิด ที่เร็ว ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มอัตราเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลมากขึ้น ดังนี้

        EDO DRAM หรือ SDRAM PC 66 ได้ 528M/s
        SDRAM PC 100 ได้ 800M/s
        DRDRAM ได้ 1.4G/s

     อีกสาเหตุหนึ่งที่ระบบบัสแบบ AGP ทำได้ดีกว่า PCI เพราะ เป็น Slot แบบเอกเทศ ไม่ต้องไปใช้ Bandwidth ร่วมกับใคร (เพราะเครื่อง ๆ หนึ่งมี Display Card เพียงตัวเดียวก็เพียงพอแล้ว ดังนั้น ใน Mainboard จึงมี Slot AGP เพียง Slot เดียว) ในปัจจุบัน ระบบบัสแบบ AGP ได้พัฒนามาถึง AGP 4X แล้ว ซึ่งช่วยให้เพิ่มอัตราการส่งผ่านข้อมูลได้สูงขึ้น อีกเท่าตัวจาก 2X เลยทีเดียว

     ทุกวันนี้ การใช้งานคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปนั้น ก็จะใช้งานกันด้าน Graphics กันเป็นหลัก อย่างน้อยที่สุด ระบบปฏิบัติการที่เราใช้โดยทั่วไป ก็จะเป็นในแบบ Graphical User Interface ( GUI ) ทั้งหมดแล้ว จะมีบ้าง ก็แค่ในส่วนของ UNIX เช่น Linux หรือ Solaris เป็นต้น แต่รุ่นใหม่ๆ ก็มักจะใช้เป็น GUI แล้ว ( เช่น OpenWin หรือ CDE ) ดังนั้น ก็เรียกได้ว่า เราได้ใช้งานด้าน Graphics กันทุกครั้งของการเปิดเครื่องเลยทีเดียว ยิ่งถ้าใช้งานเพื่อเล่นเกมส์ โดยเฉพาะเกมส์ 3 มิติ ( 3D ) ด้วยแล้ว ก็จะยิ่งใช้งานด้าน Graphics และ Animetion อย่างสูงมาก ซึ่งหน้าที่การทำงานเหล่าเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมาที่หน้าจอ ให้เราๆ ท่านๆ พอใจ ก็ล้วนเกิดมาจากหน่วยประมวลผลด้าน Graphics ทั้งสิ้น ซึ่ง Graphics Card ที่เราใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปแล้ว ก็จะมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบคือ

    Onboard คือมีการรวมเอาหน่วยประมวลผลด้าน Graphics และส่วนควบคุมหน่วยความจำของ Graphics เข้าไว้บน Mainboard เลย
    Card PCI โดยการปลักเข้ากับ Slot แบบ PCI
    Card AGP โดยการปลักเข้ากับ Slot เฉพาะ สำหรับงานด้าน Graphics โดยเฉพาะ 


                              








    
ที่มา   http://www.nextproject.net/contents/default.aspx?00064

ระบบ Bus คืออะไร มีกี่ประเภท

Bus คือ ในภาษาอังกฤษ คือ รถเมล์ รถบัส

ในภาษาคอมพิวเตอร์ คือ ใช้สำหรับการขนส่งที่ต้องการขนส่งจากจุดหนึ่ง สิ่งที่ขนส่ง คือ (สัญญาณไฟฟ้า) หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ข้อมูล ดังนั้น bus ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราก็คือ เส้นโลหะ ตัวนำสัญญาณไฟฟ้ามักเป็น ทองแดง ที่อยู่บนแผ่นวงจรพิมพ์ต่างๆ เช่น Main board เป็นต้น แต่ bus มีการทำงานที่สลับซับซ้อนพอสมควรจึงมีเรียกว่า Bus System

Bus (ระบบบัส) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1. Address Bus คือ Bus System ที่ใช้สำหรับแจ้งตำแหน่งหรือระบุตำแหน่งที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์

2. Control Bus คือ Bus System ที่ใช้สำหรับส่งการควบคุมไปยังส่วนต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์

3. Data Bus คือ Bus System ที่ใช้สำหรับส่งการขนส่งข้อมูลไปยังตำแหน่งที่ระบุ Address Bus และถูกควบคุมโดย Control Bus

การทำงานของ Bus

เมื่อ Bus เป็นเส้นทางการขนส่งข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา ดังนั้นจะมีวงจรสำหรับควบคุมการทำงานของระบบ Bus  (Bus Controller) ซึ่งในอดีตมี Chip IC ที่ทำหน้าที่นี้โดยตรงแพร่ออกไป ในปัจจุบันได้มีการรวมวงจรควบคุม Bus นี้เข้าไว้ใน North Bridge Chip โดยที่วงจรควบคุมระบบ Bus นี่ทำหน้าที่จัดช่องสัญญาณประเภทต่างๆให้ทำงานรวมกันอย่างเป็นระบบบนเมมบอร์ด ให้กับอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งาน เช่น CPU อุปกรณ์ I/O Port ต่างๆ

อีกชื่อหนึ่งของ Bus มีเรียกขานกันในเรื่องเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) โดยมีความหมายว่า เป็นสถาปัตยกรรมการต่อเชื่อมเครือข่ายคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่งโดยมีแนวเส้นหลัก ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็น “ถนนสายหลัก” ที่ใช้สำหรับเดินทาง or ขนส่งข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับระบบ Computer Network นี้

เป็นเสมือนหนึ่ง “บ้าน” ที่อยู่ในถนนย่อย ที่แยกออกมาจากถนนหลักโดยที่ ถนนย่อย ที่แยกออกมาแต่ละถนนนั้นจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ บ้าน เพียงครั้งเดียวอยู่ปลายถนนย่อยแต่ละเส้น โดยที่จุดแยกเข้าถนนย่อยนั้นจะมีอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ “แยกสัญญาณ”หรือ “พวงสัญญาณ” ที่เรียกว่า MAC (Media Access Commenter) เป็นตัวเชื่อมต่อและแผกสัญญาณไว้

หมายเหตุ ; แล้ว FSB {Front Side Bus} คืออะไร

คือว่า FSB {Front Side Bus} เป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติไว้เพื่อใช้ก็ได้รับรองความเร็วในการทำงาน CPU กับ RAM โดยตรง ซึ่งโดยปกติการทำงานของแผงคอมพิวเตอร์ CPU จะทำงานได้โดยอาศัยหน่วยความจำของ RAM เป็นเหมือนหนึ่ง “โต๊ะพลังงาน”และ “ถังพักข้อมูล”ในการทำงาน

จึงได้เห็นหน่วยความจำที่มีขนาดความเร็วขนาดต่างๆ เช่น FSB266 FSB333 FSB400 FSB533 เป็นต้น โดยการเลือกตามความเร็วระดับต่างๆ จำเป็นต้องสอดคล้องกับ CPU ที่ใช้และ Main board ที่ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบคอมพิวเตอร์ในด้านความเร็วในการประมวลผล


ที่มา  http://joynattamon.wordpress.com/2012/08/16/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%AA-bus-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%82/

วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ระบบเลขฐาน

ระบบเลขฐาน





ที่มา   http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A
%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82

หน่วยประมวลผลและตรรกะ (ALU)

หน่วยประมวลผลและตรรกะ (ALU)





ที่มา  http://blog-alu.blogspot.com/

John von neumann


John von neumann






ที่มา http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/computer/evolution/Pioneers_
Neumann.htm

เทคโนโลยีสารสนเทศ


เทคโนโลยีสารสนเทศ




ที่มา http://www.chakkham.ac.th/technology/techno2/page1.html

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความหมายของซอฟต์แวร์

ความหมายของซอฟต์แวร์
 การใช้งานระบบสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงาน เช่น การซื้อของโดยใช้บัตรเครดิต ผู้ขายจะตรวจสอบบัตรเครดิตโดยใช้เครื่องอ่านบัตร แล้วส่งข้อมูลของบัตรเครดิตไปยังศูนย์ข้อมูลของบริษัทผู้ออกบัตร การตรวจสอบจะกระทำกับฐานข้อมูลกลาง โดยมีกลไกหรือเงื่อนไขของการตรวจสอบ จากนั้นจึงให้คำตอบว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธบัตรเครดิตใบนั้น การดำเนินการเหล่านี้เป็นไปโดยอัตโนมัติตามคำสั่งซอฟต์แวร์
 ทำนองเดียวกันเมื่อซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า พนักงานเก็บเงินจะใช้เครื่องกราดตรวจอ่านรหัสแท่งบนสินค้าทำให้บนจอภาพปรากฏชื่อสินค้า รหัสสินค้า และราคา ในการดำเนินการนี้ต้องใช้ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานได้
 ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นลำดับขั้นตอนของการทำงาน ชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์อ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตาม ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์จัดทำขึ้น และคอมพิวเตอร์จะทำงานตามคุณลักษณะของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้น
 ชนิดของซอฟต์แวร์แบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)






ที่มา http://it.benchama.ac.th/ebook/files/chap5-1.htm
ที่มาภาพ http://gottoyou.blogspot.com/2011/07/blog-post_08.html

ความหมายของฮาร์ดแวร์

ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่แตกต่างกันไปตามคุณลักษณะของ องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ ดังนี้
1) หน่วยรับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยอาจส่งผ่านอุปกรณ์ รับเข้าข้อมูลโดยตรง เช่น เมาส์ , แผงแป้นอักขระ, ปากกาแสง, ก้านควบคุม ฯลฯ หรือส่งผ่านอุปกรณ์ รับเข้าข้อมูลทางอ้อม เช่น เครื่องขับ, แผ่นบันทึก , เครื่องขับเทปแม่เหล็ก เป็นต้น


2) หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ไมโครโพรเซสเซอร์ ของไมโครคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่นำคำสั่งและข้อมูล เก็บไว้ในหน่วยความจำมาแปลความหมาย และ กระทำตามคำสั่งพื้นฐานของไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งแทนได้ด้วยรหัสเลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วย หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณและหน่วยตรรกะ

3) หน่วยส่งออก หรือหน่วยแสดงผล ซึ่งประกอบด้วย จอภาพ (Monitor) ลำโพง (Speaker) และเครื่องพิมพ์ (Printer)


 

ที่มา http://www.rayongwit.ac.th/computer/web-m2-wed/g15m2wed/hardw.htm

ที่มาภาพ http://www.trueplookpanya.com/new/asktrueplookpanya/questiondetail/733

ความหมายของ CPU

ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น

picture

ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/cpu.html
ที่มาภาพ http://www.atsme-pl.com/article.php?id=1

ความหมายของคอมพิวเตอร์

หมายถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใช้ในการประมวลผลข้อมูล







ที่มาของรูปภาพ  http://www.learners.in.th/blogs/posts/529941